หากมีการไหลเข้ามาของอาชีพแพทย์และพยาบาลนักเวชนิทัศน์ของไทยก็จำเป็นในการผลิตสื่อเพื่อให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้นหลังเปิดประตูสู่อาเซียน
ผศ.ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ หัวหน้าสถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ และ ผู้อำนวยการโรงเรียนเวชนิทัศน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา ศิริราชพยาบาลถือเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนด้านเวชนิทัศน์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย และ ปัจจุบันได้ผลิตบัณฑิตออกมาหลายรุ่น แต่ยังมีจำนวนน้อยอยู่เพราะผลิตได้ปีละไม่มากนัก เพราะนักศึกษาที่จะต้องมาเรียนสาขานี้จะต้องคัดสรร เลือกเฟ้นเป็นพิเศษ เพราะคนเรียนจะต้องมีความสามารถด้านศิลปะ การทำสื่อ และเรียนรู้เรื่องพื้นฐานด้านการแพทย์ด้วย เพราะจะได้รู้เนื้อหาและข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงของสาขาวิชาการแพทย์ เพื่อจะได้เป็นผู้ช่วยแพทย์ได้อย่างแท้จริง และอนาคตหากมีการร่วมมือกันระหว่าง 3 สถาบันอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่จะมีการเปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาก็จะมีโอกาส แต่ปัญหาในขณะนี้ที่พบคือ มีอาจารย์ที่จบปริญญาเอกด้านเวชนิทัศน์นี้น้อย ทำให้ยังเป็นอุปสรรคสำหรับการเปิดในระดับบัณฑิตศึกษาอยู่
"ส่วนศิษย์เก่าที่จบออกไปหลายรุ่น ได้ไปทำงานทั้งในระบบราชการ และ เอกชน และพบว่ายังมีความต้องการคนที่จบด้านนี้เป็นจำนวนมาก และ ยิ่งเมื่อมีการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนนั้น พบว่าในภูมิภาคอาเซียนมีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ผลิตบัณฑิตด้านเวชนิทัศน์ ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนยังไม่มีใครเปิด หากประเทศไทยผลิตบัณฑิตด้านนี้ให้มีคุณภาพ และ บัณฑิตสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี รับรองว่าจะเป็นที่ต้องการของประชาคมอาเซียนอย่างมากแน่นอน"ผศ.ดร.นพพล กล่าว
ข่าวสารจากการประชุมวิชาการเรื่อง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ ครั้งที่ 2 (22 พ.ย. 2555) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายละเอียดอ้างอิงจาก