• ประเมินความพึงพอใจ
 
 
จำนวนผู้เยี่ยมชม  
ข่าวประชาสัมพันธ์ >> รายละเอียด
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ที่จัดโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
วันที่ลงข่าว  05⁄07⁄2557

Siriraj International Conference in Medicine and Public Health (SICMPH) เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ที่จัดโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อตอบสนองต่อนโยบายด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community policy, AEC) ของรัฐบาลไทยที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ของอาเซียน (Medical Hub of ASEAN) ในการให้บริการด้านสุขภาพและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ

Siriraj International Conference in Medicine and Public Health (SICMPH) เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ที่จัดโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อตอบสนองต่อนโยบายด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community policy, AEC) ของรัฐบาลไทยที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ของอาเซียน (Medical Hub of ASEAN) ในการให้บริการด้านสุขภาพและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ
SICMPH เป็นการประชุมวิชาการที่จัดขึ้นแทนการประชุมวิชาการประจำปีของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งเดิมเป็นการประชุมเพื่อฟื้นฟูวิชาการทางการแพทย์ในระดับชาติ ต่อมาคณะได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการจัดประชุมวิชาการประจำปี เพื่อให้ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้เนื่องจากคณะตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมทางการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะเกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 2558 อันจะทำให้ประเทศในแถบอาเซียนมีความเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา การประชุมวิชาการประจำปีของคณะจึงได้เปลี่ยนรูปแบบให้เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการดำเนินงาน โดยใช้ชื่อ “การประชุมวิชาการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข หรือ International Conference in Medicine and Public Health (ICMPH)”
ในปี พ.ศ. 2557 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ปรับชื่อการประชุมวิชาการประจำปีเป็น “Siriraj International Conference in Medicine and Public Health (SICMPH)” และจัดการประชุมในหัวข้อหลัก “Healthcare for the AEC” โดยมุ่งถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางการแพทย์และการสาธารณสุขในกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary teamwork) และระบบเครือข่าย (networking system) ระหว่างสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันและสถานพยาบาลที่ได้ทำบันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding, MOU) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความร่วมมือทางวิชาการ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการดูแลสุขภาพ อันจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของประชาคมอาเซียนโดยรวม
นอกจากการประชุมด้านวิชาการในระดับนานาชาติแล้ว SICMPH ยังมีกิจกรรมภาคประชาชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ และให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพแก่ประชาชนไทย เเละในปี พ.ศ.2557 ยังมีการจัดนิทรรศการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมชาวไทยได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ที่มีต่อวงการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทย เนื่องจากในปี พ.ศ.2557 เป็นปีครบรอบ 100 ปี ที่พระองค์ท่านดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย ซึ่งพระองค์ทรงมีพระกรณียกิจในการพัฒนาสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทยให้มีมาตรฐานในระดับสากล และทรงปลูกฝังความนิยมในการเรียนแพทย์ให้เป็นที่แพร่หลาย โดยทรงเป็นผู้โน้มน้าวสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ให้ทรงสนพระทัยในวิชาการแพทย์และการสาธารณสุข

]-->เพื่อส่งเสริมและพัฒนาด้านวิชาการให้เกิดการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ด้านสุขภาพ ให้เกิดความเชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในภูมิภาคอาเซียน

-->เพื่อฟื้นฟูความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการทางการแพทย์ ตลอดจนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

-->เพื่อสนับสนุนให้แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขได้ผลิตและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในเวทีสาธารณะ เพื่อประโยชน์ต่อหน่วยงานและเพื่อความก้าวหน้าต่อไป

-->เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ที่ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย ครบ 100 ปี และทรงเป็นผู้มีความสำคัญในการจัดการศึกษาด้านการแพทย์และการสาธารณสุขให้มีมาตรฐานในระดับสากล

  •  

การประชุมวิชาการนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เข้าฟังบรรยายในหัวข้อที่ตนเองสนใจซึ่งมีความหลากหลายในแต่ละห้องแต่ละวัน ด้วยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งในประเทศและต่างประเทศมาเป็นวิทยากรร่วมกับวิทยากรของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีความเข้าใจในสาขาวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และการสาธารณสุข แบบองค์รวมและมีความทันสมัย

  •  

--> การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ (Symposia) เน้นหัวข้อที่เป็นสหสาขาวิชา ซึ่งจัดขึ้นพร้อมกัน 5 ห้องในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเป็นหัวข้อที่ใช้ภาษาไทย 4 ห้อง และหัวข้อที่ใช้ภาษาอังกฤษ 1 ห้อง

-->การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์หรือแบบบรรยาย (Poster/oral presentation) ใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินการ

-->นิทรรศการ (Memorial exhibition) ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการดำเนินการ

-->กิจกรรมสำหรับประชาชน (Public activities) ใช้ภาษาไทยในการดำเนินการ

  •  

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข ทุกสาขาวิชา และประชาชนทั่วไป

 
Copyright 2014 by © หน่วยการศึกษาหลังปริญญา ภาควิชาวิสัญญีวิทยา โทร 02-419-8536