• ประเมินความพึงพอใจ
 
 
จำนวนผู้เยี่ยมชม  
ข่าวประชาสัมพันธ์ >> รายละเอียด
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
โครงการอบรมวิสัญญีพยาบาลเรื่อง การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดโรคระบบประสาท
วันที่ลงข่าว  30⁄01⁄2557

การระงับความรู้สึกสำหรับผู้ป่วยโรคระบบประสาท มีความจำเป็นและแพร่หลายขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากการ ผ่าตัดทางระบบประสาท มีความจำเพาะ มีการผ่าตัดที่หลากหลายและซับซ้อน บุคลากรทางวิสัญญีที่ไม่คุ้นเคย มักเกิด ความไม่มั่นใจและอาจมีข้อผิดพลาด หรือเกิดผลเสียต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะเมื่อต้องให้การระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยโรค ระบบประสาทในกรณีที่เร่งด่วน ฉุกเฉิน ด้วยเหตุที่แพทย์เฉพาะทางด้านวิสัญญีระบบประสาทมีจำนวนน้อย วิสัญญี พยาบาลจึงมีบทบาทที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วย ในหลักสูตรฝึกอบรมวิสัญญีพยาบาล 1 ปี นั้นมีช่วงเวลาที่เข้าทำงานใน หน่วยวิสัญญีระบบประสาทไม่นานนัก เมื่อจบไปปฏิบัติงานแล้ว ถ้าจำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ ที่ต้องรับผิดชอบ และดูแลผู้ป่วยผ่าตัดโรคระบบประสาท อาจมีสมรรถนะไม่เพียงพอ หรือไม่มั่นใจ

1

โครงการอบรมวิสัญญีพยาบาลเรื่อง การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดโรคระบบประสาท

รุ่นที่ 1: วันที่ 1 - 31 มีนาคม 2557 รุ่นที่ 2: วันที่ 1-31 กรกฎาคม 2557

ณ ห้องประชุม 2 ตึกสยามินทร์ ชั้น 10, ศูนย์ปฏิบัติการช่วยชีวิต อาคารโภชนาการ ชั้น 5

1. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2. หลักการและเหตุผล

การระงับความรู้สึกสำหรับผู้ป่วยโรคระบบประสาท มีความจำเป็นและแพร่หลายขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากการ

ผ่าตัดทางระบบประสาท มีความจำเพาะ มีการผ่าตัดที่หลากหลายและซับซ้อน บุคลากรทางวิสัญญีที่ไม่คุ้นเคย มักเกิด

ความไม่มั่นใจและอาจมีข้อผิดพลาด หรือเกิดผลเสียต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะเมื่อต้องให้การระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยโรค

ระบบประสาทในกรณีที่เร่งด่วน ฉุกเฉิน ด้วยเหตุที่แพทย์เฉพาะทางด้านวิสัญญีระบบประสาทมีจำนวนน้อย วิสัญญี

พยาบาลจึงมีบทบาทที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วย ในหลักสูตรฝึกอบรมวิสัญญีพยาบาล 1 ปี นั้นมีช่วงเวลาที่เข้าทำงานใน

หน่วยวิสัญญีระบบประสาทไม่นานนัก เมื่อจบไปปฏิบัติงานแล้ว ถ้าจำเป็นต้องปฏิบัติงานในสถานที่ ที่ต้องรับผิดชอบ

และดูแลผู้ป่วยผ่าตัดโรคระบบประสาท อาจมีสมรรถนะไม่เพียงพอ หรือไม่มั่นใจ

3. วัตถุประสงค์ เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดโรคระบบประสาทสำหรับวิสัญญีพยาบาล

4. กิจกรรมในการดำเนินงาน เป็นการฝึกอบรม มีทั้งการบรรยายและฝึกปฏิบัติ

5. กลุ่มเป้าหมาย วิสัญญีพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้รับประกาศนียบัตรวิสัญญีพยาบาลมาแล้ว และ

ปฏิบัติงานประจำในห้องผ่าตัด

6. จำนวนผู้เข้ารับการอบรม การจัดอบรม 2 รุ่นๆ ละ 4 คน ระยะเวลาอบรม 1 เดือน

รุ่นที่ 1: วันที่ 1 มีนาคม – 31 มีนาคม 2557 รุ่นที่ 2: วันที่ 1 กรกฎาคม – วันที่ 31 กรกฎาคม 2557

7. อัตราค่าลงทะเบียน

วิสัญญีพยาบาลจาก โรงพยาบาลรัฐบาล ค่าลงทะเบียน 8,000 บาท/คน/รุ่น

วิสัญญีพยาบาลจากโรงพยาบาลเอกชน ค่าลงทะเบียน 12,000 บาท/คน/รุ่น

8. การประเมินผลโครงการ

1. ต้องมาเข้ารับการอบรม ≥ 80% ของเวลา

2. ต้องผ่านการประเมินภาคปฏิบัติโดยคณะกรรมการ ≥ 70% ของคะแนนเต็ม 100%

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เมื่อจบการอบรม วิสัญญีพยาบาลที่มารับการฝึกอบรมและได้ศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองแล้วครบ 1 เดือน จะสามารถ:

1. รู้และเข้าใจกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของระบบประสาทที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับวิสัญญีวิทยา

2. รู้และเข้าใจความสำคัญและวิธีการปกป้องสมอง (cerebral protection) ระหว่างการผ่าตัด

3. ประเมินและเตรียมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดระบบประสาทที่เหมาะสมได้

2

4. รู้และเข้าใจความสำคัญและวิธีการจัดท่าผู้ป่วยสำหรับการผ่าตัดทางระบบประสาท ได้อย่างถูกต้องรวมถึงการ

แก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้

5. รู้และเข้าใจความสำคัญและวิธีการแก้ไขเบื้องต้นภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (increase intracranial

pressure)

6. รู้และเข้าใจความสำคัญและวิธีการให้สารน้ำระหว่างการผ่าตัดระบบประสาทที่เหมาะสม

7. ให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดกระโหลกศีรษะ และสมอง (craniotomy) ทั่วไปที่ไม่ซับซ้อนได้

8. ให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังและไขสันหลัง (spine and spinal cord)

ที่ไม่ซับซ้อนได้

หัตถการที่สามารถทำได้หลังผ่านการฝึกอบรม 1 เดือน วิสัญญีพยาบาลสามารถ:

1 จัดท่าที่เหมาะสม สำหรับการผ่าตัดพิเศษทางระบบประสาท เช่น ท่าคว่ำ ท่า parkbench

2 เตรียมอุปกรณ์และช่วยในการใส่ท่อหายใจในผู้ป่วย unstable c-spine injury

3 เตรียมอุปกรณ์สอด arterial line สำหรับการติดตามความดันโลหิตแบบ invasive

4 ใช้ cardiac ECG สำหรับการดูตำแหน่งของปลายสาย central venous catheter ในตัวผู้ป่วย

5 ใช้ propofol หยดต่อเนื่องสำหรับการผ่าตัดทางระบบสมองและไขสันหลัง ใช้เครื่อง target-controlled infusion

สำหรับยา propofol

6 ใช้ bispectral index สำหรับการเฝ้าระวังระดับความลึกของการให้ยาระงับความรู้สึก (monitoring depth of

anesthesia)

วิสัญญีพยาบาลสามารถแก้ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับการผ่าตัดทางระบบประสาทได้: สามารถแก้ไขเบื้องต้นกรณีที่มี

ความดันในกระโหลกศีรษะสูง

10. ตัวชี้วัดและเป้าหมายโครงการ

ตัวชี้วัด หน่วยนับ เป้าหมาย

1) จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม จากภายนอกคณะฯ คน/ต่อรุ่น 4 คน/ต่อรุ่น

2) ค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าร่วมอบรม คะแนน (เต็ม 5) 4.0

3) ร้อยละของความพึงพอใจระดับมากและมากที่สุด ร้อยละ > 80

4) ระยะเวลาการเข้าร่วมอบรม ร้อยละ ≥ 80%

5) ผลการสอบของผู้เข้าร่วมอบรม ร้อยละ ≥ 70%

11. แผนการดำเนินการ 2 รุ่น

คณะกรรมการในการจัดการอบรม

1. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจริยา เลิศอรรฆยมณี ที่ปรึกษา

2. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศิริพร ปิติมานะอารี ที่ปรึกษา

3. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมานี รักษาเกียรติศักดิ์ ประธานโครงการ

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเบญจรัตน์ หยกอุบล กรรมการ

5. อาจารย์ แพทย์หญิงพิชยา ไวทยะวิญญู กรรมการ

6. อาจารย์ นายแพทย์ภูริพงศ์ ทรงอาจ กรรมการ

3

7. คุณวรรณฉัตร กระต่ายจันทร์ กรรมการและเลขานุการ

กิจกรรม พ.ศ.2557

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค.

การบรรยายและการฝึกปฏิบัติ 􀀹 􀀹

ลักษณะการฝึกอบรม ประกอบด้วย

1. การบรรยาย 6 ชั่วโมง หัวข้อบรรยาย:

1.1 Anatomy of CNS โดย อจ.พญ.บุศรา ศิริวันสาณฑ์ (L1)

1.2 Physiology of CNS โดย อจ.พญ.สายพิณ เมืองแมน (L2)

1.3 Cerebral protection โดย อจ.พญ.เบญจรัตน์ หยกอุบล (L3)

1.4 Fluid and electrolytes in neuroanesthesia โดย อจ.นพ.ภูริพงศ์ ทรงอาจ (L4)

1.5 Anesthesia for neurosurgery โดย อจ.พญ.มานี รักษาเกียรติศักดิ์ (L5)

1.6 Anesthesia for neurosurgery: special procedures โดย อจ.พญ.พิชยา ไวทยะวิญญู (L6)

2. Problem Base Learning (discussion)

2.1 Airway assessment in c-spine patient โดย อจ.พญ.มานี รักษาเกียรติศักดิ์ (P1)

2.2 Traumatic brain injury โดย อจ.พญ.สายพิณ เมืองแมน (P2)

2.3 Anesthesia for craniotomy for brain tumor removal โดย อจ.พญ.บุศรา ศิริวันสาณฑ์ (P3)

2.4 Anesthesia for cerebral aneurysm clipping โดย อจ.พญ.ปราณี รัชตามุขยนันต์ (P4)

3. การฝึกปฏิบัติกับหุ่น SimMan หัวข้อ Crisis management in anesthesia โดย อจ.นพ.ปฏิภาณ ตุ่มทองและอจ.พญ.มานี

รักษาเกียรติศักดิ์

4. การสังเกตการณ์และฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยในสถานการณ์จริงในห้องผ่าตัด

4.1 การจัดท่า Positioning โดยคุณวรรณฉัตร กระต่ายจันทร์ (W1)

4.2 การเตรียม arterial line, CVP line (ECG guide) โดยคุณเบญจมาศ ชัยกุล (W2)

4.3 Intubation with manual in line stabilization โดย อจ.วิสัญญีแพทย์ประจำห้องผ่าตัด (W3)

4.4 การเตรียมอุปกรณ์ difficult airway โดยเทคนิคเชี่ยน ภาควิชาวิสัญญีวิทยา (W4)

4.5 Extubation in neurosurgical patient โดย อจ.วิสัญญีแพทย์ประจำห้องผ่าตัด (W5)

4.6 Propofol และ TCI โดย อจ.วิสัญญีแพทย์ประจำห้องผ่าตัด (W6)

4.7 BIS โดยอจ.วิสัญญีแพทย์ประจำห้องผ่าตัด (W7)

5. การศึกษาจากวิดิทัศน์/PowerPoint หัวข้อ intracranial neuroimaging โดย อจ.พญ.สิริอร ตริตระการและหัวข้อ

intracranial pathology: surgical point of view โดย อจ.นพ.เอกวุฒิ จันแก้ว

ตารางการอบรม

สัปดาห์ที่ 1

8:00-9:00 9:00-12:00 13:00-16:00

Mon: Pre-test observe V1,V2, objective P1

Tues:L1 W1

Wed: neuro-academic activity W1

Thurs: L2 W1 Discuss P1

4

Fri: L3 W2 Self learning

สัปดาห์ที่ 2

8:00-9:00 9:00-12:00 13:00-16:00

Mon: L4 W3 objective P2

Tues: L5 W4

Wed: neuro-academic W5

Thurs: L6 W5 Discuss P2

Fri: W5 Self learning

สัปดาห์ที่ 3

8:00-9:00 9:00-12:00 13:00-16:00

Mon: W 6 objective P3

Tues: W6

Wed: neuro-academic W6

Thurs: Discuss P3

Fri: W7 Self learning

สัปดาห์ที่ 4

8:00-9:00 9:00-12:00 13:00-15:00

Mon: objective P4

Tues: W7

Wed: neuro-academic W7 S1

Thurs: Discuss P4

Fri: certificate Post test Self learni

http://sirirajanesthetist.com/web/

รายละเอียดอ้างอิงจาก

 
Copyright 2014 by © หน่วยการศึกษาหลังปริญญา ภาควิชาวิสัญญีวิทยา โทร 02-419-8536